ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ทั้งในกีฬาท้องถิ่นหรือกีฬาระดับนานาชาติ มักพบปัญหาเกี่ยวกับยาและสารต้องห้าม (ยาโด๊ป) เสมอ การใช้สารต้องห้ามในนักกีฬาไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจเพื่อเสริมสมรรถภาพของร่างกาย เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน หรืออาจจะโดยความไม่ตั้งใจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่มีส่วนผสมของสารต้องห้าม ก็มีความผิดทั้งนั้นตามกฏบังคับของโอลิมปิกสากล การตรวจพบสารต้องห้ามในนักกีฬาจึงถือเป็นเรื่องใหญ่เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและประเทศชาติตลอดจนอนาคตของนักกีฬาผู้นั้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามความหอมหวานของชัยชนะ ชื่อเสียง เงินทอง ตลอดจนทรัพย์สิ่งของที่เป็นรางวัลล่อใจให้แก่ผู้ชนะ ยังเป็นสิ่งที่นักกีฬาอีกหลายคนมุ่งมั่นที่จะทำทุกวิถีทาง รวมทั้งการใช้สารต้องห้ามแม้จะรู้ว่าผิดทั้งนี้และทั้งนั้นก็เพื่อชัยชนะ ก็คงจะไม่ต่างอะไรกับการเดิมพันที่เดิมพันหลับหูหลับตาคิดว่าแต่จะให้ได้อย่างเดียวแต่ชัยชนะที่ได้มาก็จะเสียไปอย่างง่ายดายทางเว็บFun88 ได้สนับสนุนให้นักเดิมพันทั้งหลายให้มีความสนุกสนานไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักกีฬาคนอื่นอย่างยิ่ง ดังนั้นการตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความยุติธรรมในการแข่งขันตลอดจนความเท่าเทียมกันทางด้านสิทธิมนุษยชน

ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาระดับชาติต้องมีการตรวจสอบสารต้องห้ามเสมอ ซึ่งสารต้องห้ามนี้มีประมาณ 200 ชนิด การตรวจสารต้องห้ามนี้จะรวมไปถึงกรรมวิธีในการทำให้เกิดสมรรถภาพที่ดีเป็นพิเศษอีกด้วย สารต้องห้ามแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็นยาและฮอร์โมน ได้แก่

1.1 สารออกฤทธิ์กระตุ้น (Stimulants) เป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน โคเคน คาเฟอีน (มากกว่า 12 ไมโครกรัมต่อปัสสาวะหนึ่งมิลลิลิตร) เป็นต้น สารประเภทนี้ทำให้นักกีฬาตื่นตัวกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย

1.2 สารออกฤทธิ์แก้ปวดและเสพติด (Narcotics ans analgesics) เป็นสารระงับปวด เกิดความรู้สึกหลอน เพ้อฝัน ไม่รู้จักความเจ็บปวด มักเป็นสารเสพติด เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เป็นต้น

1.3 ฮอร์โมนแอนาโบลิคสเตียรอยด์ (Anabolic steroids) เป็นสารที่สร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อและร่างกาย เพิ่มพละกำลัง มักพบในนักกีฬาประเภทนักยกน้ำหนัก นักมวยปล้ำ นักเพาะกาย นักกีฬาประเภทลู่ระยะสั้นและลาน เป็นต้น ตัวอย่างยาประเภทนี้ได้แก่ bolasterone mesterlone และ testosterone เป็นต้น

1.4 ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เป็นยาที่ใช้ขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำหนักหรือปกปิดการใช้สารต้องห้ามบางชนิด การใช้ยาประเภทนี้จะพบมากในนักมวยและกีฬาอื่นที่มีการจำกัดน้ำหนัก ตัวอย่างประเภทนี้ได้แก่ ฟิวโรซามีด แอซิทาโซแลมีด เป็นต้น

1.5 เพพไทด์ฮอร์โมน (Peptide Hormone) รวมทั้งสารที่คล้ายคลึงสารประเภทนี้ ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์ และ erythropoientin ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น สารประเภทนี้ได้แก่ human chorionic gonadotropin (HCG) สารประเภทนี้เป็นสารต้องห้ามตั้งแต่ปี 1990

กลุ่มที่ 2 เป็นการใช้สารกระตุ้นโดยกรรมวิธี

2.1 การให้เลือด ซึ่งทำโดยการถ่ายเม็ดเลือดแดงของตัวเองที่แช่เก็บเอาไว้ ล่วงหน้าทำให้ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น เซลล์ร่างกายก็จะได้รับการถ่ายเทออกซิเจนได้ดียิ่งขึ้น อาจพบได้ในนักกีฬาที่ต้องใช้ความอดทนในการแข่งขัน เช่น มาราธอน จักรยานไกล เป็นต้น

2.2 การเปลี่ยนสมบัติและปริมาณของปัสสาวะโดยทางยา เคมี หรือ ปฏิบัติ อาทิเช่น การเติมสารบางอย่างลงไปในปัสสาวะ หรือการรับประทานยาบางชนิด เช่น probenecid เพื่อปิดกลั้นการขับถ่ายสารกระตุ้นออกจากร่างกายทางปัสสาวะชั่วคราว

กลุ่มที่ 3 คือสารที่อนุญาตให้ใช้ได้โดยมีข้อจำกัด

การใช้ต้องรายงานให้คณะกรรมการ ฝ่ายแพทย์ของการแข่งขันทราบ สารในกลุ่มนี้ได้แก่

3.1 แอลกอฮอล์

3.2 กัญชา

3.3 ยาชาเฉพาะที่

3.4 คอร์ติโคสเตียรอยด์

3.5 ยาปิดกั้นเบต้า (Beta-blocker)

ในการตรวจสอบสารกระตุ้นต่างๆ นั้น แม้จะลำบากยากเย็นเนื่องจากวิวัฒนาการของ การใช้สารกระตุ้นก้าวหน้าขึ้น การตรวจสอบสามารถทำได้แน่นอนและพบผู้ใช้สารกระตุ้นเสมอ

Categorized in: