กำเนิดลูกโป่ง

ลูกโป่ง คือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้ที่ทำให้พองโดยบรรจุแก๊ส เช่น ฮีเลียม ไฮโดรเจน ไนตรัสออกไซด์ ออกซิเจน หรืออากาศไว้ภายใน ลูกโป่งสมัยใหม่ทำจากยาง น้ำยาง พอลีคลอโรพรีน หรือผ้าไนลอน และมีได้หลายสี ในสมัยก่อน ลูกโป่งทำจากกระเพาะปัสสาวะสัตว์ที่แห้งแล้ว เช่น กระเพาะปัสสาวะของหมู ลูกโป่งบางชนิดมีไว้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ แต่บางชนิดถูกใช้จริงเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น ในทางอุตุนิยมวิทยา การแพทย์ การทหาร หรือการขนส่ง ลูกโป่งเป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากมีน้ำหนักเบาและราคาถูก

ผู้ประดิษฐ์ลูกโป่งยางได้คนแรกคือ ไมเคิล ฟาราเดย์ ใน ค.ศ. 1824 จากการทดลองด้วยแก๊สหลากหลายชนิด

 

ลูกโป่งในปัจจุบันนั้น มีไว้เพื่อใช้ในวันพิเศษต่างต่าง  สมัยก่อนลูกโป่งนั้นไม่ได้สวยงามอย่างปัจจุบัน มันจะผลิตมาจาก กระเพาะปัสสาวะสัตว์ตากแห้ง ฟังแล้วก็ออกจะหน้าขนลุกนิดหน่อย จากนั้นไม่นานในปี 1824 ก็มีคนได้คิดค้นลูกโป่งที่ทำจากยางและยังมีการใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 

ในสมัยก่อน มีความเชื่อว่ามือที่ถือ BALLOON เป็น “มือแห่งความสุข” วิธีที่เรากำลูกโป่งอยู่ในมือ มันจะเหมือนความรู้สึกที่เราเดินจูงมือกับ พ่อแม่ ทุกครั้งที่มีคนยืนลูกโป่งให้ ก็เหมือนทำให้เราได้ระลึกถึงมือแห่งความสุขนั้นนั้น ตอนเยาว์วัยอีกครั้ง

1930

ในปี 1930 เริ่มมีการผลิตลูกโป่งแบบอุตสาหกรรม โดยการผลิตจะเริ่มจากการใส่สีลงไปรวมกับยางชนิด เลเท็ส แล้วก็ผสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-16 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้โมล จิ้มลงไปเพื่อให้เกิดรูปร่างของ BALLOON แล้วหลังจากนั้นก็ต้องไปจุ่มสารต่างต่าง เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และ เพิ่มสมรรถภาพของลูกโป่ง หลังจากนั้นก็เป็นอันเสร็จและก็ถอดออกมาเป็นลูกโป่งให้เราได้ใช้กันในปัจจุบัน BALLOON และ PARTY เรียกว่าเป็นของคู่กัน หากมีปาร์ตี้สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าวันนั้นพิเศษ ก็คือ BALLOON จนกลายเป็น สัญญลักษณ์ของความสุขที่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ทำให้คนทุกเพศทุกวัย “ยิ้มได้”

 

 

แก๊สในลูกโป่ง และความปลอดภัย

ร้านลูกโป่งที่ขายในประเทศไทยโดยทั่วไป พบบรรจุแก๊สอยู่ 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ความแตกต่างของแก๊ส 2 ชนิดนี้ คือ แก๊สไฮโดรเจนมีความไวไฟสูง ติดไฟง่าย ส่วนแก๊สฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ ดังนั้น หากจะใช้งานลูกโป่งในสถานที่ซึ่งมีแสงไฟมาก ตัวอย่างเช่น การจัดตกแต่งงานเลี้ยง งานฉลองต่างๆ ก็ควรเลือกใช้ลูกโป่งบรรจุแก๊สฮีเลียม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ลูกโป่งฮีเลียม เพราะหากลูกโป่งบรรจุแก๊สไฮโดรเจนอยู่ใกล้ไฟหรือความร้อน ก็จะติดไฟหรือสามารถเกิดระเบิดในกรณีที่มีลูกโป่งจำนวนมากได้ และอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

หลังจากใช้งานลูกโป่งเสร็จแล้ว ควรปล่อยลมลูกโป่ง แล้วนำไปทิ้งให้ถูกที่ เพราะการปล่อยลูกโป่งลอยขึ้นฟ้าก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาของการปล่อยลูกโป่งที่มีคนพบได้แก่ ซากลูกโป่งจำนวนมากมาเกยตื้นบนชายหาด, เชือกลูกโป่งไปพันติดกับตัวนก หรือสัตว์บางชนิดเข้าใจว่าซากลูกโป่งเป็นอาหารจึงกินเข้าไป สัตว์ที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ มีทั้งที่ได้รับการช่วยเหลือ และพบเมื่อเสียชีวิตแล้ว

 

 

เรียบเรียงโดย: MCCONTENT

ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%87