แร่ธาตุ คือ?
ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุหลายชนิด ธาตุในที่นี้ไม่ได้หมายถึงธาตุทั้งสี่ที่ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่หมายถึงธาตุทางเคมี ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าในโลกนี้มีธาตุอยู่ทั้งหมด 115 ธาตุ เป็นธาตุที่นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นประมาณ 20 ธาตุ ธาตุที่พบใน
ร่างกายมนุษย์มีทั้งหมด 28 ธาตุ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มแรก เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกายรวมทั้งของเหลวในร่างกาย ได้แก่ ธาตุคาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน แคลเซียมและฟอสฟอรัส กลุ่มที่สอง เป็นสารอาหารที่
ร่างกายต้องการ เรียกว่า แมคโครนิวเตรียน ได้แก่ ธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน คลอรีน โซเดียม แมกเนเซียม กลุ่มที่สาม คือสารอาหารที่ร่างกายต้องการเช่นกันแต่ในปริมาณที่น้อยมากๆ เรียกว่า ไมโครนิวเตรียน ได้แก่ ธาตุวาเนเดียม โครเมียม แมงกานีส เหล็ก โคบอลต์ นิกเกิ้ล ทองแดง สังกะสี ไอโอดีน ดีบุก โบรมีน ฟลูออรีน โมลิบดีนัม อาร์เซนิก ลิเทียม แคดเมียม และซีลีเนียม
แร่ธาตุ มีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อร่างกายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของเซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท และยังเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน อีกด้วย นอกจากนี้ แร่ธาตุยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ
กล้ามเนื้อ จะเห็นได้ว่าจากที่กล่าวมาข้างต้นแร่ธาตุจัดเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอ ร่างกายจึงจะสามารถเจริญเติบโต
ได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยใช้ปริมาณที่ร่างกายต้องการเป็นเกณฑ์ ได้แก่
ขอบคุณรูปภาพ : goo.gl/oezZzM
แร่ธาตุหลัก (Major minerals หรือ Macronutrients) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณมาก โดยสามารถพบในร่างกายได้มากกว่า ร้อยละ 0.01 ของน้ำหนักตัว และร่างกายมี
ความต้องการจากอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป แร่ธาตุในกลุ่มนี้ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม กำมะถัน และคลอไรด์ เป็นต้น ซึ่งในร่างกาย
ของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
แร่ธาตุรอง (Trace minerals หรือ Micronutrients) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยโดยที่ร่างกายต้องการจากอาหาร น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยแต่แร่ธาตุเหล่านี้ก็มีความสำคัญ และมีความ
จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม แมงกานีส ทองแดง ไอโอดีน โครเมียม โคบอลท์ ฟลูออไรด์ โมลิบดินัม และ วานาเดียม
ธาตุกลุ่มแรกจัดเป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนมาก น้ำที่เป็นองค์ประกอบของเลือด น้ำเหลือง น้ำย่อย และปัสสาวะ โดยเซลล์ในร่างกายจะมีน้ำ ประมาณ 65-90 % ในน้ำประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน 2 ส่วนและธาตุออกซิเจน
1 ส่วน แต่ธาตุออกซิเจนหนักเป็น 16 เท่าของธาตุไฮโดรเจน ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าธาตุออกซิเจนเป็นธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกายเราคือ 65%ของน้ำหนักร่างกายและธาตุคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารอินทรีย์จำพวกโปรตีน ไขมัน ที่เป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะ
ต่างๆของร่างกาย จะมีมากเป็นอันดับสองในร่างกายคือ 18% ส่วนธาตุไฮโดรเจน และไนโตรเจน มีปริมาณ 10 และ3% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมที่เป็นองค์ประกอบของกระดูกในร่างกายในปริมาณ 1.5% และ มีธาตุฟอสฟอรัส 1.0% โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าเกือบ
99% ของน้ำหนักร่างกายประกอบด้วยธาตุกลุ่มแรกซึ่งมี 6 ชนิด ที่เหลืออีก 1% เป็นธาตุในกลุ่มที่สองและสาม
เป็นที่น่าสนใจว่าธาตุที่อยู่ในกลุ่มสารอาหารที่ร่างกายต้องการนั้น ร่างกายต้องการเพื่อไปทำอะไรบ้าง เมื่อร่างกายมนุษย์เจริญเติบโตเต็มที่ อาหารที่มนุษย์รับประทานเข้าไป ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน จะให้พลังงานแก่มนุษย์ ทำให้มนุษย์สามารถเคลื่อนไหวออกแรงทำกิจกรรมต่างๆได้ในชีวิตประจำวัน
และใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย ธาตุที่อยู่ในกลุ่มสารอาหารที่ร่างกายต้องการอาจมาจากอาหารที่มนุษย์รับประทาน หรือมาในรูปอาหารเสริม วิตามินต่างๆ และเกลือแร่ ธาตุเหล่านี้จะใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ธาตุ
โคบอลต์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของวิตามินบี-12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง เหล็กเป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ช่วยในการขนส่งแก๊สออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้ามาทางปอดส่งต่อไปยังเนื่อเยื่อต่างๆ ทองแดงช่วยในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินและช่วยใน
การหายใจของเซลล์ สังกะสีช่วยในการย่อยโปรตีน โครเมียมช่วยให้ร่างกายสามารถใช้น้ำตาลกลูโคลสได้ ดังนั้นการขาดสารอาหารเหล่านี้ จะมีอาการแสดงออกอันมาจากระบบการทำงานที่ธาตุนั้นๆเกี่ยวข้อง เช่น ขาดโคบอลต์และเหล็กจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ขาดโครเมียมจะทำให้สมรรถภาพการทำงานของอินซูลินลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น ขาดซีลีเนียมทำให้เป็นโรคหัวใจ
ธาตุในกลุ่มที่เป็นสารอาหารนั้นสามารถพบได้ในอาหารต่างๆ ที่รับประทานในแต่ละวัน อาจมาจากผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ แมกเนเซียมพบได้ใน อาหารทะเล ธัญพืช ถั่ว ผัก โกโก้ โพแทสเซียมพบได้ใน ส้ม กล้วย ผลไม้แห้ง มันฝรั่ง โซเดียมพบได้ใน
เนื้อสตว์ เกลือแกง สังกะสีหรือซิงค์ พบได้ในตับ สัตว์ทะเลมีเปลือก เนื้อสัตว์ ธัญพืช ทองแดงหรือคอปเปอร์ พบได้ใน ตับ ไต ไข่แดง ธัญพืช โครเมียมพบได้ในตับ ใยอาหารจากพืชและสัตว์ ธาตุในกลุ่มไมโครนิวเตรียนเกือบทุกตัว เป็นธาตุที่ทางเคมีจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าโลหะ
หนัก และสามารถพบได้ในตับ ดังนั้นการรับประทานตับเป็นบางครั้งบางคราว จะทำให้ได้ธาตุเหล่านี้ ธาตุทุกธาตุที่พบในร่างกายล้วนมีความสำคัญต่อร่างกาย “ธาตุในกลุ่มที่เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการประมาณ 22 ธาตุนั้น สามารถพบได้ในอาหารต่างๆดังได้กล่าวมาข้างต้น”
ดังนั้นการพิจารณาว่าควรจะรับประทานวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆที่มีขายมากมายในร้านอาหารเสริม เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ และอาจทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีปนเปื้อนที่มาจากขบวนการผลิตวิตามินและแร่ธาตุ
ต่างๆนั้น สะสมอยู่ในร่างกาย ในกรณีของผู้มีร่างกายปกติ ไม่ได้มีอาการป่วยไข้ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จัดว่าเป็นการเพียงพอแล้ว โดยควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ซ้ำเมนูเดิมๆ จะช่วยให้ได้สารอาหารครบถ้วนยิ่งขึ้น นอกจากสารอาหารแล้ว การออกกำลังกายจัดเป็นปัจจัยสำคัญอีกอันหนึ่งที่จะทำให้สุขภาพร่างกาย แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
เรียบเรียงโดย: MCCONTENT