อาการปวดแขน ชาปลายนิ้วมือ
อาการปวดแขน ชาปลายนิ้วมืออาจกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัดอยู่ที่บางคนอาจคิดว่าจะมีในผู้สูงอายุ ที่ต้องการดูแลผู้สูงอายุ โดยเกิดจากเส้นประสาทมือบริเวณนิ้วต่างๆ ถูกบีบรัดจากเยื่อหุ้มเอ็นที่อยู่ตรงช่องใต้กระดูกข้อมือของเราเกิดบวมขึ้นมา หรือเกิดจากภาวะกระดูกบริเวณข้อมือโตขึ้นทำให้ช่องตรงใต้กระดูกของข้อมือแคบลงทำให้เกิดอาการปวดขึ้น กับมีพังผืดที่หนาตัวขึ้นและเสื่อมสภาพ โดยหากไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อได้ค่ะ
สาเหตุของอาการปวดแขน ชาปลายนิ้วมือ
– เกิดจากการใช้ข้อมือแบบผิดๆ คือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานซ้ำๆ ติดต่อกันในระยะยาว
– เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุต่างๆ ที่ทำให้ข้อมือได้รับบาดเจ็บ
– มักเกิดในผู้หญิงที่กำลังมีน้องอยู่ หรือช่วงก่อนรอบเดือนมา
– เกิดในคนอ้วนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
– ผู้ที่เป็นโรคต่างๆ อย่างไทรอยด์, ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือเบาหวาน เป็นต้น
– เกิดจากกรรมพันธุ์ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน
– โรคการกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณมือถูกกดทับส่งผลให้เกิดอาการชาโดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ภาวะนี้มักเกิดจากการใช้งานบริเวณข้อมือ มืออย่างไม่ถูกวิธีเป็นเวลานาน หมอคิดว่าคุณ Archairaya อาจประสบภาวะนี้อยู่ค่ะ
– ภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical Radiculopathy) เกิดจากเส้นประสาทบริเวณคออักเสบหรือถูกกดทับส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอาการชาที่ปลายนิ้วได้
– การกดทับเส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve Entrapment) เกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาทอัลนาร์ที่หล่อเลี้ยงควบคุมการทำงานของนิ้วนางและนิ้วก้อย
– โรคเรย์นอด (Raynaud’s Disease) เกิดจากหลอดเลือดแดงเล็กที่อยู่ในนิ้วเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงปลายนิ้วได้ไม่ดีส่งผลให้เกิดอาการชาตามมา
– ภาวะอาการเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) มักเกิดความเสียหายแก่เส้นประสาทบริเวณมือและเท้า
– โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบบวม และสร้างความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อกระดูก ซึ่งทำให้เกิดอาการชา ปวดบริเวณมือและนิ้วมือ
อย่างไรก็ตามหมอไม้ได้เป็นผู้ตรวจร่างกายโดยตรงทำให้ไม่สามาถตอบได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคใด แนะนำให้คุณ Archairaya ไปตรวจรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อนค่ะ เนื่องจากการตรวจร่างกายโดยตรงมีผลอย่างมากต่อการวินิจฉัยอาการนี้
หลังตรวจแล้วแพทย์จะให้การรักษาที่เหมาะสมกับโรคที่พบค่ะ
มือเท้าชาเกิดจากโรคอะไรได้บ้าง
สำหรับโรคที่เป็นสาเหตุดูแลผู้สูงอายุของอาการมือเท้าชาก็มีหลายโรคด้วยกัน โดยจะมีระดับความรุนแรงที่ต่างกันไปตามชนิดของโรคด้วย
-
โรครูมาตอยด์
เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไขข้อกระดูกหรือโรคเกาต์นั่นเอง เนื่องจากกระดูกหรือข้ออยู่ในลักษณะที่ไม่ปกติ และขัดขวางการไหลเวียนของเลือดพอดี จึงทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ช้า ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการชาตามมือตามเท้าแล้ว ก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกด้วย
-
โรคเบาหวาน
อาการชาที่มือและเท้าเป็นอาการหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดที่สุด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลเพิ่มสูงกว่าที่เป็นอยู่ แต่สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ให้สังเกตว่ามีอาการอื่น ๆ ของโรคเบาหวานปรากฏบ้างหรือไม่ หากมีแนวโน้มว่าเป็น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเบาหวานและสาเหตุของอาการมือเท้าชาโดยด่วน
-
ภาวะขาดไทรอยด์
เมื่อมีอาการมือเท้าชา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งสังเกตได้จากการเป็นตะคริวบ่อย ๆ และมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อพร้อมกับเหนื่อยง่ายร่วมด้วย นอกจากนี้อาจมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย และหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยกรณีนี้หากไม่รุนแรง สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการงดรับประทานอาหารที่มีไขมัน เน้นธัญพืชเป็นหลัก และเสริมด้วยอาหารเสริมจำพวกแร่ธาตุสังกะสีและแร่ธาตุซีเลเนียม
-
พิษสุราเรื้อรัง
พิษสุราเรื้อรังเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้เกิดอาการชาตามมือตามเท้าได้ ซึ่งเกิดจากการที่ดื่มสุรามากเกินไป โดยในขณะเดียวกันก็รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ด้วย จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ ส่งผลให้เกิดอาการชามือและเท้าในที่สุด ดังนั้นสำหรับใครที่มีอาการชามือเท้าบ่อย ๆ และเป็นคนที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำด้วยแล้ว สงสัยได้เลยว่านั่นอาจเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรังก็ได้
-
ภาวะติดเชื้อ
เกิดจากภาวะติดเชื้อ เพราะเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันแย่ลงหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบางชนิดไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะวิตามินบี ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาตามปลายมือปลายเท้า นอกจากนี้หากเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต ก็อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โดยจุดสังเกตว่าตนเองติดเชื้อในกระแสโลหิตหรือไม่ ให้ดูว่ามีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วและหายใจเร็วกว่าปกติร่วมด้วยหรือไม่ หรือควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเม็ดเลือดขาวซึ่งจะทราบผลได้เร็วที่สุด
-
โรคประจำตัวเรื้อรัง
สำหรับการดูแลผู้สูงอายุผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัวบางโรค ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชาตามมือตามเท้าได้เหมือนกัน เช่น โรคหลอดเลือด โรคไต โรคอักเสบเรื้อรัง หรือในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
การรักษาอาการปวดแขน ชาปลายนิ้วมือ
– ให้หยุดการใช้ข้อมือ และให้นำน้ำแข็งมาประคบเย็น
– ให้รับประทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์
– รักษาโรคประจำตัวต่างๆ ให้หายดี
– หากจำเป็นคุณหมอก็จะทำการผ่าตัดแผ่นพังผืดที่มาบีบรัดเส้นประสาทออกไปค่ะ
นอกจากนี้ เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้โดยการรับประทานวิตามินบี 1 หรือวิตามินบีรวม และหลีกเลี่ยงการใช้มือในท่าใด
เรียบเรียงโดย: MCCONTENT
ที่มา: eldercareinthai.com