การกู้ยืม

แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ  ยืมใช้คงรูป และยืมใช้สิ้นเปลือง การกู้นั้นจะบริบูรณ์ได้  ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

  1. การยืมใช้คงรูป

หมายถึง  การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าโดยผู้ที่ยืมสัญญาว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จ เช่น นาย ก ให้นาย ข ยืมรถยนต์ของตนโดยนาย ข สัญญาว่าจะคืนให้เมื่อไปเที่ยวเสร็จ การยืมใช้คงรูปนั้น ผู้ยืมมีสิทธิที่จะใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้ แต่ก็มีหน้าที่จะต้องคืนทรัพย์นั้น ให้กับผู้ให้ยืมเหมือนกัน ซึ่งหากเกิดความเสียหาย บุบสลาย ก็จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายตามราคาทรัพย์ที่ยืมไป เว้นแต่แม้จะรักษาอย่างคนทั่วไปจะรักษากันทรัพย์สินก็ยังต้องเสียหาย ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดชอบ 

  1. การยืมใช้สิ้นเปลือง

เป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้กับผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนประเภท ชนิด ปริมาณ ของทรัพย์สินเช่นเดียวกันให้แทน คือไม่จำต้องคืนทรัพย์สินตัวเดิม เพราะทรัพย์สินที่ยืมไปนั้นจะหมดสิ้นไปโดยการใช้ เช่น นาย ก. มอบข้าวสาร 2 กระสอบให้นาย ข. ยืม โดยข้าวสารนั้นเป็นข้าวหอมมะลิอย่างดี  เมื่อครบกำหนด นาย ข.  ก็ต้องนำข้าวสารหอมมะลิอย่างดี เช่นเดียวกันปริมาณ 2 กระสอบคืนให้กับนาย ก. แต่ถ้าเป็นการกู้เงิน ถ้ากู้เงินเกินกว่า 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมด้วย  มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

ขอบคุณเครดิตรูปภาพ : goo.gl/G67qZB

การเรียกดอกเบี้ย

กฎหมายกำหนดว่าจะเรียกได้ตามอัตราส่วนของต้นเงิน และระยะเวลาแห่งการกู้ยืม โดยดอกเบี้ยมี 2 อย่าง คือ

  • ในกรณีที่คู่กรณีตกลงว่ามีดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ให้เรียกดอกเบี้ยตามกฎหมาย คือ5 % ต่อปี
  • ดอกเบี้ยโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องไม่เกิน15 % ต่อปี เว้นแต่จะเป็นการกู้เงินกับสถาบันการเงิน เช่น กู้จากธนาคาร