จะทำอย่างไรหากตรวจเจอโรคนิ่วในไต

นิ่วในไต นั้นถูกเรียกในหลายชื่อทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนิ่วในไตสามารถเกิดได้จากแร่ธาตุและสารอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็น Kidney stone, Renal stone, Kidney calculi, Renal calculi, Renal calculus และ Nephrolithiasis นิ่วในไตถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยในในช่วงอายุ 30-60 ส่วนมากแล้วจะตรวจพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 2-3 เท่าเลยทีเดียว โดยเฉพาะชาวจังหวัดทางภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย และดูแลผู้สูงอายุ

 

สาเหตุ

สาเหตุของโรคนิ่วไตเกิดจากหลากหลายปัจจัยโดยเฉพาะดูแลผู้สูงอายุ ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมแทบอลิซึม พันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการกินอาหารของตัวผู้ป่วยเอง ชนิดของนิ่วมีหลากหลายชนิด องค์ประกอบส่วนใหญ่ในก้อนนิ่วเป็นผลึกแร่ธาตุ เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต แมกนีเซี่ยมแอมโมเนี่ยมฟอสเฟต เป็นต้น นิ่วที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ นิ่วแคลเซี่ยมฟอสเฟตประมาณร้อยละ 80 รองลงมาคือนิ่วกรดยูริกพบประมาณร้อยละ 10-20 สาเหตุเริ่มต้นของการเกิดนิ่วคือการก่อผลึกแร่ธาตุในปัสสาวะ สารที่กระตุ้นการก่อผลึกเหล่านี้เรียกว่า “สารก่อนิ่ว” ได้แก่ แคลเซี่ยม ออกซาเลต ฟอสเฟต และกรดยูริก สำหรับสารที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะเรียกว่า “สารยับยั้งนิ่ว” ที่สำคัญได้แก่ ซิเทรต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
ปัจจัยเสี่ยงด้านความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนิ่วไตไทย คือ การมีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะต่ำ ได้แก่ ภาวะซิเทรตในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 70-90 และภาวะโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 40-60

 

อาการ

อาการของนิ่วในไต มักไม่มีอาการแสดงใดๆมากนัก แต่จะมีอาการทันทีเมื่อไตเกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนหรือมีก้อนนิ่วเข้าไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จนทำให้มีอาการปวดเสียดที่เอว และรวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีสีน้ำปัสสาวะที่ขุ่นแดง หรือแผลอักเสบมีหนอง

 

กลไกการเกิดโรค

สาเหตุของการเกิดนิ่วไต คือ การมีสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว ร่วมกับปัจจัยเสริมคือ ปริมาตรของปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซี่ยมฟอสเฟต และยูเรต ผลึกนิ่วที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและการอักเสบในท่อไต ส่งผลให้เซลล์บุท่อไตถูกทำลาย ตำแหน่งที่ท่อไตถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึดและรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด 
ในคนปกติที่มีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะสูงเพียงพอ จะสามารถยับยั้งการก่อตัวของผลึกนิ่วได้ โดยสารเหล่านี้จะไปแย่งจับกับสารก่อนิ่ว เช่น ซิเทรตจับกับแคลเซียม หรือแมกนีเซียมจับกับออกซาเลต ทำให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และขับออกไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปริมาณสารก่อนิ่วในปัสสาวะลดลงและไม่สามารถรวมตัวกันเป็นผลึกนิ่วได้ นอกจากสารยับยั้งนิ่วกลุ่มนี้แล้วโปรตีนในปัสสาวะหลายชนิด เช่น โปรตีนแทมฮอสฟอล และออสทีโอพอนติน ยังหน้าที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะและเมื่อเคลือบที่ผิวผลึกจะช่วยขับผลึกออกไปพร้อมกับปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีหลายงานวิจัยระบุว่าความผิดปกติของการสังเคราะห์และการทำงานของโปรตีนยับยั้งนิ่วเหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคนิ่วไต

 

การรักษา

การรักษาโรคนิ่วในไตนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

1.ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร สามารถรักษาดูแลผู้ป่วยได้ด้วยการดื่มน้ำให้มากๆและใช้ยาละลายนิ่ว เช่น ยารักษานิ่วที่เกิดจากเกลือแคลเซียม ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ (Hydrochlorothiazide chlorothiazide) ยารักษานิ่วที่เกิดจากออกซาเลต ได้แก่ คอเลสไทรามีน (Cholestyramine) หรือยารักษานิ่วชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อในไต (Struvite stones)

2.หากพบก้อนนิ่วขนาดใหญ่เกินกว่าระยะแรกซึ่งอาจทำให้ก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะหรือก้อนนิ่วเกิดการติดเชื้อ ดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออกมาเท่านั้น ซึ่งมีการรักษาด้วยวิธีกาต่างๆ เช่น Extracorporeal shock wave lithotripsy (ESWL) ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งพลังผ่านผิวหนังเพื่อสลายก้อนนิ่ว หรือPercutaneous nephrolithotomy (PCNL) แทงผ่านผิวหนังบริเวณเอวเข้าสู่ไตโดยตรง และใช้เครื่องมือคีบเอานิ่วออก

สิ่งที่น่ากลัวของอาการนิ่วในไตคือหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดอาการไตอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง  เมื่อปล่อยให้ไว้นานอาจจะทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุให้ไตวายเรื้อรังและเสียชีวิตได้

 

 

เรียบเรียงโดย: MCCONTENT

ที่มา: สาระเร็ว.com

Categorized in: