ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง ปัญหาผมร่วงล้านในผู้ชาย

ภาวะศีรษะล้านนั้นสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์เป็นหลักถึง 90-95% หญิงและชายมีโอกาสหัวล้านได้เหมือนกัน แต่ในคุณผู้ชายการที่จะแสดงอาการหัวล้านออกมาได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่ที่เราพบได้มักจะมีปัจจัยอยู่ 2 ส่วน คือ กรรมพันธุ์หรือยีนส์ศีรษะล้านและฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโตเตอร์โรน (Testosterone)

ฮอร์โมนเพศชายนี้สร้างจากลูกอัณฑะและต่อมหมวกไต แล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย รวมถึงที่หนังศีรษะด้วย โดยบริเวณหนังศีรษะนี้เองที่ฮอร์โมนจะถูกเปลี่ยนไปเป็น ฮอร์โมนเพศชายอีกตัวหนึ่ง ชื่อว่า DHT (Dihydrotestosterone)กระบวนการนี้ เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติในผู้ชายทุกคน

เจ้า DHT จะจับกับเซลล์เส้นผมซึ่งอยู่ใต้หนังศีรษะ และออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นผมทำให้เส้นผมที่ขึ้นมาใหม่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆตามอายุที่เพิ่มขึ้น ต่อมาก็จะกลายเป็นผมเส้นอ่อนๆและตายไปในที่สุด จึงเกิดภาวะผมบาง

และศีรษะล้าน ตามมาแม้ผู้ชายบางคนจะมียีนส์ศีรษะล้านในตัวเขา แต่ถ้าเขาไม่มีฮอร์โมนเพศชาย(ผู้ชายที่ไปแปลงเพศ โดยการตัดลูกอัณฑะทิ้งก่อนที่ศีรษะจะล้าน)ศีรษะเขาก็จะไม่ล้านเช่นกัน เพราะปัจจัย ที่ทำให้เกิดศีรษะล้านมีไม่ครบ

การค้นพบยีนตัวรับแอนโดรเจน (androgen recepter gene) บนโครโมโซม X ช่วยในการอธิบายว่า ทำไมรูปแบบศีรษะล้านในผู้ชายจึงเหมือนหรือคล้ายกับตาหรือญาติทางฝั่งแม่มากกว่าพ่อ แต่อย่างไรก็ตามศีรษะล้านที่พบในผู้ชาย อาจเหมือนที่พบในพ่อได้ ดังนั้นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมน่าจะมาได้จากยีนหลายตัวที่รับมาจากทั้งฝั่งพ่อและแม่

3 ปัจจัยย่อย ที่มีผล ต่อศรีษะล้าน

1.ยีน (Genes)

ภาวะศีรษะล้านรูปแบบผู้ชายจะไม่เกิดขึ้นถ้าปราศจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากยีนที่เกี่ยวข้อง ยีนนี้อาจได้รับมาจากทั้งฝั่งพ่อและแม่ (ยีนคือหน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม โครโมโซมของคนมีทั้งหมด 23 คู่ โดยได้รับมาครึ่งหนึ่งจากพ่อ และอีกครึ่งหนึ่งจากแม่) ในปัจจุบันพบว่าผมร่วงจากภาวะนี้เกี่ยวข้องกับยีนมากกว่า 1 อัน (polygenic) ในปัจจุบันพบว่า

ภาวะศีรษะล้านรูปแบบนี้มีความเกี่ยวข้องกับยีนบนโครโมโซม x ซึ่งผู้ชายได้รับมาจากแม่และเร็ว ๆ นี้มักมีการพบยีนบนโครโมโซมคู่ที่ 20 ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ซึ่งสามารถถ่ายทอดมาได้จากทั้งแม่และพ่อ ทำให้สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมลูกจึงมีศีรษะล้านรูปแบบคล้ายที่พบกับพ่อได้ แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักแต่พบว่าพันธุกรรมที่ได้รับจากแม่ดูเหมือนว่าจะมีความสำคัญมากกว่าที่ได้รับจากพ่ออยู่เล็กน้อย

ยีนที่พบนี้น่าจะเป็นยีนเด่น (ผลการวิจัยบางแหล่งกล่าวว่า ยีนนี้เป็นยีนด้อย) หมายความว่ามียันนี้เพียงอันเดียวก็สามารถแสดงลักษณะของศีรษะล้านรูปแบบนี้ออกมาได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มียีนนี้อยู่จะแสดงลักษณะ (expressity)ของศีรษะล้านทุกคน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะของยีนนี้ด้วย ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ฮอร์โมน, อายุ, ความเครียด, และปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล

2.ฮอร์โมน (Hormones)

ฮอร์โมนคือสารเคมีที่หลั่งออกจากต่อม (glands) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปออกฤทธิ์ยังอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สร้างมากที่ต่อมลูกหมากและอัณฑะ ฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดลักษณะของความเป็นชาย ทำให้อวัยวะเพศชายเจริญขึ้น สร้างสเปริม กระตุ้นให้มีความรู้สึกทางเพศ กระตุ้นให้มีขนบริเวณรักแร้ และหัวเหน่า แต่ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถทำให้เกิดศีรษะล้านได้ด้วย เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็น DHT

ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รากขนเสื่อมลง และตายได้ นอกจากนี้ฮอร์โมนชนิดนี้ยังผลิตขึ้นได้จากต่อมหมวกไต และรังไข่ของผู้หญิงอีกด้วย ดังนั้นในผู้หญิงจึงพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ด้วย แต่พบในปริมาณที่น้อยกว่าในเพศชาย
ฮอร์โมนที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านคือฮอร์โมน DHT

ซึ่งเปลี่ยนมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการทำงานของเอนไซม์ 5 อัลฟารีดักเทส ( 5- alpha-reductase) ในผู้ชายพบว่าเอ็นไซม์นี้มีการทำงานมากขึ้นในบริเวณที่มีผมร่วง ฮอร์โมน DHT จะลดระยะการเจริญของผม ทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักเร็ว ผมจึงหลุดร่วงเร็ว ดังนั้นจึงมียาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์และใช้ในการรักษาผมร่วงได้แก่ Finasteride

3. อายุที่สูงขึ้น ↑

ไม่เฉพาะยีนและฮอร์โมนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับภาวะศีรษะล้านชนิดนี้ แม้ว่าในวัยรุ่นจะเริ่มมีฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) แต่ภาวะนี้ยังพบได้น้อยในวัยรุ่น และพบมากขึ้นตามอายุ

ดังนั้น อายุที่มากขึ้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านรูปแบบเพศชาย แต่จะเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล อายุเป็นสาเหตุได้อย่างไร ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดนัก ภาวะผมร่วงไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงที่แปรผันตามอายุ

แต่กลับพบเป็นวงจรมีช่วงที่ผมร่วงเร็วขึ้นหรือช้าลงสลับกันไป ดังนั้นจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นที่มากระตุ้นทำให้เกิดภาวะผมร่วงอีก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณของเส้นผมจะลดลง แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยด้านพันธุกรรม

จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นเส้นผมจะหดตัวทำให้ขนาดของเส้นผมและความยาวของเส้นผมลดลง นอกจากนี้รากขนยังทำงานน้อยลง และปริมาณของรากขนก็จะลดลงด้วย ทำให้ผมบนหนังศีรษะดูบางได้ในบางบริเวณ ทั้งนี้อาจเกิดเนื่องจากความเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น และปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงยังบริเวณหนังศีรษะด้วย

อ่านเพิ่ม : splashcaddy.com/learning/

Categorized in: